คู่มือการให้บริการ

คำตอบ: นักศึกษาสามารถค้นหารหัสนักศึกษาได้จากเว็บไซต์ http://reg.psu.ac.th/newstudentadmis/ โดยใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชน

คำตอบ: ตรวจสอบช่วงเวลาในการตรวจสอบรหัสประจำตัวนักศึกษา รอบการรับเข้า กรณีมีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาแล้วแต่ยังไม่มีรหัสประจำตัวนักศึกษาติดต่อฝ่ายทะเบียนและประมวลผล 074289260

คำตอบ: ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลจากการสมัครเข้าศึกษา กรณีมีความประสงค์เปลี่ยนแปลงสามารถดำเนินการแก้ไขได้โดยยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อมูลส่วนตัว รายละเอียดศึกษาได้จาก https://reg.psu.ac.th/main/edit_info/

คำตอบ: การเข้าใช้งานครั้งแรกต้องใช้ PSU PASSPORT โดย Username คือ รหัสนักศึกษา และ Password คือ เลขบัตรประจำตัวประชาชน

คำตอบ: การบันทึกข้อมูลพื้นฐานนักศึกษาใหม่ ต้องดำเนินการตามวันที่ ที่กำหนดในประกาศการเตรียมตัวนักศึกษาใหม่

คำตอบ: ผู้อุปการะ อาจจะเป็นบิดาหรือมารดา หรือบุคคลอื่นๆ ที่ เลี้ยงดู ส่งเสียหรืออุปถัมภ์ สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาหรือผู้ที่บรรลุนิติภาวะ อาจจะเป็นตนเองก็ได้

คำตอบ: ส่วนของบิดา มารดา กรอกข้อมูลตามจริง ที่ระบุในทะเบียนบ้าน ส่วนผู้ปกครอง หรือผู้อุปการะ สามารถกรอก พ่อแม่บุญธรรม ได้

คำตอบ: รูปถ่ายนักศึกษาระดับปริญญาตรีต้องสวมเครื่องแบบนักศึกษาให้ถูกต้องตามระเบียบ ดังรูป

คำตอบ: บัตรประจำตัวประชาชนที่ใช้ในการอัปโหลด ผ่านระบบข้อมูลพื้นฐานนักศึกษาใหม่สามารถสแกนหรือถ่ายรูปเฉพาะหน้าแรกเท่านั้น ต้องตัดขอบให้พอดีกับกรอบรูปบัตรประชาชนก่อนอัปโหลด

คำตอบ: นักศึกษาที่ข้อมูลชื่อสกุลในระบบไม่ตรงกับเอกสารสำเร็จการศึกษาในการอัปโหลดใบแสดงคุณวุฒิผ่านระบบข้อมูลพื้นฐานนักศึกษานักศึกษาต้องสแกนไฟล์เอกสารการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล แนบรวมกับใบแสดงคุณวุฒิ ก่อนอัปโหลดผ่านระบบ

คำตอบ: การตรวจสอบเอกสารจะใช้เวลาประมาณ 2 วันทำการ หากเอกสารได้รับการตรวจสอบแล้วจะมีอีเมล์ตอบกลับไปยังอีเมล์ที่นักศึกษาให้ไว้

ช่วงเวลาในการดำเนินการ

INfo

สามารถศึกษาข้อมูลได้จาก ปฏิทินการศึกษา

ขั้นตอนชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาแบบใหม่
QR Payment

ขั้นตอนในรูปแบบใหม่
ลงทะเบียนเรียน สะดวกมากยิ่งขึ้น คลิกเพียงไม่กี่ครั้ง

ในกรณีที่พบปัญหาด้านการลงทะเบียนเรียน

การคงสภาพการเป็นนักศึกษาในกรณีที่ไม่ลงทะเบียนเรียนมี 2 ประเภทดังนี้

1.การขอรักษาสถานภาพการเป็นนักศึกษา ต้องมีผลการเรียนครบตามหลักสูตรกำหนดแล้ว แต่อยู่ระหว่างรอดำเนินการตามเงื่อนไขการสำเร็จการศึกษาในเทอมนั้นๆ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับจากวันเปิดภาคการศึกษา ดังนี้

ค่าธรรมเนียมการรักษาสถานภาพการเป็นนักศึกษา

ระดับการศึกษา
Level of Education
ภาคการศึกษาที่ 1/ (บาท)
The First semester/ Baht
การศึกษาภาคที่ 2/ (บาท)
The Second semester/ Baht
ปริญญาตรี
Bachelor’s degree
2,6002,300
ปริญญาโท
Master’s degree
5,0005,000
ปริญญาเอก
Doctor’s degree
5,0005,000

2.การขอลาพักการศึกษา เป็นการลาทั้งภาคการศึกษา สามารถดำเนินการได้ 2 ช่วง ดังนี้

  1. กรณีไม่ลงทะเบียนเรียน ต้องดำเนินการลาพักการศึกษาให้แล้วเสร็จผ่านใน 30 วันนับจากเปิดภาคการศึกษา มิฉะนั้นจะพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา
  2. กรณีลงทะเบียนเรียนแล้วภายหลังประสงค์ขอลาพักการศึกษา ต้องดำเนินการตามให้แล้วเสร็จตามกำหนดการในปฎิทินการศึกษา (ประมาณสัปดาห์ที่ 12 หลังเปิดภาคการศึกษา)

นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จะลาพักการศึกษาไม่ได้ ยกเว้นกรณีที่ป่วยหรือถูกเกณฑ์หรือระดมเข้ารับ ราชการทหารกองประจำการ และหรือได้รับทุนต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยเห็นว่าเป็นประโยชน์กับนักศึกษา

ค่าธรรมเนียมการลาพักการศึกษา/The Fee for Absence

ระดับการศึกษา
Level of Education
ภาคการศึกษาที่ 1/ (บาท)
The First semester/ Baht
การศึกษาภาคที่ 2/ (บาท)
The Second semester/ Baht
ปริญญาตรี
Bachelor’s degree
2,6002,300
ปริญญาโท
Master’s degree
3,7503,450
ปริญญาเอก
Doctor’s degree
4,5384,163

คำถามที่พบบ่อยการกรอกข้อมูล
พื้นฐาน สำหรับวิทยาเขตหาดใหญ่

ช่องทางพิเศษสำหรับผู้พิการ

ใส่ Info

ช่องทางการเสนอแนะและร้องเรียน

ใส่ Info

PSU